เมนู

เทวปุตตสังยุต



วรรคที่ 1



1. ปฐมกัสสปสูตร



[221] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น กัสสปเทวบุตร เมื่อสิ้นราตรีปฐมยาม มีวรรณะอันงามยิ่งนัก
ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กัสสปเทวบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอน
ของภิกษุ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสั่ง
สอนนั้น จงแจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด.
[222] กัสสปเทวบุตร ได้ทูลว่า
บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต ศึกษาการ
เข้าไปนั่งใกล้สมณะ ศึกษาการนั่งในที่เร้น
ลับแต่ผู้เดียว และศึกษาการสงบาระงับจิต.

พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย.
ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงโปรดเราแล้ว จึง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาปฐมกัสสปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูสที่ 1 วรรคที่ 1 ต่อไป :-
บทว่า เทวปุตฺโต ความว่า บุรุษผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่า เทพ-
บุตร สตรีผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่า เทพธิดา. เทวดาที่ไม่ปรากฏนามท่าน
เรียกว่า เทวดาองค์หนึ่ง เทพที่ปรากฏนาม ท่านเรียกว่า เทพบุตรมีชื่ออย่างนี้.
เพราะฉะนั้น เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในหนหลังแล้ว ในสูตรนี้
จึงกล่าวว่า เทพบุตร. บทว่า อนุสาสํ แปลว่า คำสั่งสอน. เขาว่า เทพบุตร
องค์นี้ได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฎิหาริย์ในพรรษาที่ 7 นับแต่
ตรัสรู้ ทรงเข้าจำพรรษา ณ เทวบุรี (ดาวดึงส์) แสดงพระอภิธรรม ตรัส
ภิกขุนิทเทสไว้ในฌานวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะสมัญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะปฏิญญา แต่เทพบุตรนั้น ไม่ได้ฟัง
คำโอวาทภิกษุ คำสั่งสอนภิกษุ อย่างนี้ว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึก
อย่างนี้ จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนี้ จงละข้อนี้ จงเข้าถึงข้อนี้อยู่. เทพ
บุตรนั้น หมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศภิกษุไว้
ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอนของภิกษุ.
บทว่า เตนหิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เราไม่ประกาศคำสั่งสอนของภิกษุฉะนั้น. บทว่า ตญฺเญเวตฺถปฏิภาตุ ความ
ว่า การประกาศคำสั่งสอนนี้จงปรากฏแก่ท่านผู้เดียว. ความจริง ผู้ใดประสงค์
จะกล่าวปัญหา ก็ไม่อาจจะกล่าวเทียบกับพระสัพพัญญุญาณได้ หรือว่า ผู้ใด
ไม่ประสงค์จะกล่าว ก็อาจจะกล่าวปัญหาได้ หรือว่า ผู้ใดไม่ประสงค์จะกล่าว
ทั้งไม่อาจจะกล่าวด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงทำปัญหาของคนเหล่า